ตัวกรองผลการค้นหา
กราวรูด
หมายถึง[กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
ก้าวร้าว
หมายถึงว. เกะกะระราน (ใช้แก่กิริยาและวาจาที่กระด้างและล่วงเกินผู้อื่น).
กิริเนศวร
หมายถึง[-เนสวน, -เนด] น. ช้างสำคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
เข้าเวร
หมายถึงก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
ควร
หมายถึง[ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.
เงี้ยวระเริง
หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
จองเวรจองกรรม
หมายถึงก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด.
จีวร,จีวร-
หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).
ชิงช้าสวรรค์
หมายถึงน. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
ดามพวรรณ
หมายถึงว. มีสีเหมือนทองแดง.
ไตรจีวร
หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.
ทั่วทุกสารทิศ,ทั่วทุกหัวระแหง
หมายถึงว. ทั่วทุกหนทุกแห่ง.