ตัวกรองผลการค้นหา
กระโจม
หมายถึงก. โถมเข้าไป เช่น ไม่ได้ทีอย่ากระโจมเข้าโรมรัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒); ข้ามลำดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง.
สูสี
หมายถึงก. เกี่ยวพัน, ข้องแวะ, เช่น อย่าไปสูสีกับคนพาล; ไล่เลี่ย, พอ ๆ กัน, เช่น ฝีมือของ ๒ คนนี้สูสีกัน สอบได้คะแนนสูสีกัน.
ซรอกซรัง
หมายถึง[ซฺรอกซฺรัง] (แบบ) ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น, เช่น อย่าทันเห็นแม่ออก ชีสู่ซรอกซรังไป. (ม. คำหลวง กุมาร), ซอกซัง ก็ว่า.
เสียการเสียงาน
หมายถึง(สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยากจะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ ก็ว่า.
เร่งเร้า
หมายถึงก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
สงบปากสงบคำ
หมายถึงก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.
ส้น
หมายถึงน. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
ยาไฉน
หมายถึง[-ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).
เลือดตกยางออก
หมายถึงก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึงเลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือดตกยางออกเลย.
เสียธรรมเนียม
หมายถึงก. ผิดไปจากแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อเวลาไปไหว้พระควรมีดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย อย่าให้เสียธรรมเนียม.
โวหาร
หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).
ชระลั่ง
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).