ตัวกรองผลการค้นหา
พยาม,พยามะ
หมายถึง[พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).
ฝึกสอน
หมายถึงก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทำจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
เอี้ยมเฟี้ยม
หมายถึงว. อาการที่นั่งเก็บมือเก็บเท้าอย่างเรียบร้อย, อาการที่หมอบเฝ้าหรือหมอบคอยรับใช้อย่างเรียบร้อย.
ขัดห้าง
หมายถึงก. ทำที่พักบนต้นไม้ในป่าชั่วคราวสำหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.
ซ้อมซัก
หมายถึง(โบ) ก. ซักซ้อม; (กลอน) ทุบตี เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำเขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
กลาบาต
หมายถึง[กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มีแสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย, อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคำตัดมาจาก “อุกลาบาต” ดู อุกกา).
กาลโยค
หมายถึง[กาละ-] (โหร) น. การกำหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ.
เสบียงกรัง
หมายถึงน. อาหารที่เก็บไว้กินได้นาน ๆ, อาหารรองรัง, เช่น ในยามสงครามต้องเตรียมเสบียงกรังไว้มาก ๆ.
ชระลั่ง
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).
สังเกตการณ์
หมายถึงก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
ปฐมพยาบาล
หมายถึง[ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉินตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
วิกาล,วิกาล-
หมายถึง[วิกาน, วิกานละ-] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).