ค้นเจอ 81 รายการ

มือ

หมายถึงน. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วยฝ่ามือและนิ้วมือ สำหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิดที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะสิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตำลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).

กด

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).

ดอกหมาก

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Gerres วงศ์ Gerreidae ลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง คล้ายปลาแป้น เว้นแต่มีเกล็ดใหญ่ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลังอันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อยู่กันเป็นฝูง. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Barilius วงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดำหรือนํ้าตาลบนพื้นลำตัวสีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่ตามต้นนํ้าลำธาร.

บ้า

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภค ทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.

จิ้งหรีด

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลำตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดำ (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก.

เหลือบ

หมายถึง[เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมีลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมีอวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูดของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสีคล้ายสีตัวเหลือบ.

ซ่อนทราย

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Acanthopsis choirorhynchos ในวงศ์ Cobitidae หัวแหลม ตาเล็ก มีหนวดสั้น ๔ คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีนํ้าตาลอ่อน มีจุดดำขนาดต่าง ๆ กระจายทั่วตัว พบอาศัยในแหล่งนํ้าไหลที่พื้นท้องนํ้าเป็นทรายหรือกรวดหินทั่วประเทศ, กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. (๒) ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillago วงศ์ Sillaginidae หัวหลิม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีชุกชุมเป็นฝูง ไซ้ทรายอยู่ตามเขตนํ้าตื้นบริเวณชายฝั่ง ลำตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา หลายชนิดมีแต้มสีเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลำตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง, เห็ดโคน ก็เรียก.

แหนบ

หมายถึง[แหฺนบ] น. เครื่องสำหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สำหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืนเป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่างแหนบ, เอานิ้วมือบีบทำนองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัดไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมายความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).

ชีปะขาว

หมายถึงน. (๑) ชื่อแมลงที่เป็นผีเสื้อของหนอนกอข้าว อันได้แก่ชนิด Scirpophaga incertulas, Chilo suppressalis, Chilotraea polychrysa ในวงศ์ Pyralidae เป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อเกาะจะหุบปีกเป็นรูปหลังคาหุ้มตัว ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีกและลำตัวสีเหลืองอ่อนคล้ายสีฟางข้าว มีเกล็ดละเอียดเหมือนฝุ่นปกคลุมตัว ที่หัวมีส่วนของปากยื่นยาวออกไปเป็นกลีบ ตาโตเห็นได้ชัด มักมาเล่นไฟ เกาะฝาเป็นกลุ่ม ตัวหนอนเป็นหนอนกอทำลายข้าว, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ สับปะขาว ก็เรียก. (ดู หนอนกอ). (๒) ชื่อแมลงในอันดับ Ephemeroptera มีลำตัวอ่อนมาก หนวดสั้นมองแทบไม่เห็น ปีกบางรูปสามเหลี่ยม มีเส้นปีกมากมาย เมื่อเกาะจะตั้งปีกตรงบนสันหลัง ที่ปลายท้องมีหางยาวคล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น ลำตัวและปีกสีขาว เช่น ชนิด Ephemera spp. ในวงศ์ Ephemeridae, ชี ก็เรียก.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ