ตัวกรองผลการค้นหา
โลกามิส
หมายถึงน. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
โลกายัต
หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
โลกิย,โลกิย-,โลกิยะ,โลกีย์
หมายถึงว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ, โดยปริยายหมายถึงที่เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. (ป.; ส. เลากฺย).
วัลก์
หมายถึง(แบบ) น. เปลือกไม้; เกล็ดปลา. (ส.).
วุ่นเป็นจุลกฐิน
หมายถึง[-จุนละกะถิน] (สำ) ก. อาการที่ต้องทำงานอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด.
ศุลก,ศุลก-
หมายถึง[สุนละกะ-] ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก. (ส. ศุลฺก; ป. สุงฺก).
ศุลกากร
หมายถึง[สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
ศุลการักษ์
หมายถึง[สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
โศลก
หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
สะบั้นหั่นแหลก
หมายถึง(ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น โกงสะบั้นหั่นแหลก บู๊สะบั้นหั่นแหลก.
สัตวโลก
หมายถึงน. หมู่สัตว์.
สามโลก
หมายถึงน. โลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก.