ค้นเจอ 76 รายการ

สุตกวี

หมายถึง[สุตะกะวี, สุดตะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามที่ได้ยินมา. (ป.; ส. ศฺรุต).

กรุกกรัก

หมายถึงก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ไฮไฟ

หมายถึงน. ระบบขยายสัญญาณไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงออกมาได้โดยไม่เพี้ยนเลย ในช่วงความถี่ที่มนุษย์ได้ยินได้, มาจากคำ ไฮฟิเดลิตี (highfidelity). (อ. hi-fi).

การเวก

หมายถึง[การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.

ทิพยโศรตร

หมายถึง[ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).

กรุก

หมายถึง[กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).

พร่า

หมายถึง[พฺร่า] ก. ทำให้เสียหาย, ทำลาย, ทำให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.

สัญญาณ

หมายถึงน. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็นสัญญาณให้พระลงโบสถ์.

ความรู้

หมายถึงน. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.

แผ่ว,แผ่ว ๆ

หมายถึงว. เบา ๆ เช่น เสียงแผ่ว คือเสียงเบาเกือบไม่ได้ยิน หายใจแผ่ว คือหายใจเบาจนเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ วาดแผ่ว ๆ คือวาดเบา ๆ พอให้เห็น ปัดแผ่ว ๆ คือปัดเบา ๆ พอให้หมดฝุ่นละออง.

หูไว

หมายถึงว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มีประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.

กรับ

หมายถึง[กฺรับ] น. ไม้สำหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น “กรับ ๆ” เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ