ตัวกรองผลการค้นหา
อนุช
หมายถึง[อะนุด] น. “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องสาว, นิยมใช้ว่า นุช. (ป., ส.).
อนุชาต,อนุชาต-
หมายถึง[อะนุชาด, อะนุชาดตะ-] น. ผู้เกิดตามมาไม่ดีกว่าหรือไม่เลวกว่าตระกูล. (ป., ส.).
อนุชาตบุตร
หมายถึงน. บุตรที่มีคุณสมบัติเสมอด้วยบิดามารดา. (ส. อนุชาตปุตฺร; ป. อนุชาตปุตฺต).
อนุตร,อนุตร-
หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
อนุบท
หมายถึงน. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).
อนุพงศ์
หมายถึงน. วงศ์ที่เนื่องมา, วงศ์ย่อยที่สืบมาจากวงศ์ใหญ่. (ส. อนุวํศ).
อนุพัทธ์
หมายถึงว. ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง.
อนุภาค
หมายถึงน. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. (อ. particle).
อนุโมทนาบัตร
หมายถึงน. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อบุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทำแล้ว.
อนุราธ,อนุราธะ,อนุราธา
หมายถึง[อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
อนุโลม
หมายถึงก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลำดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ. (ป., ส.).
อนุสัย
หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).