ค้นเจอ 118 รายการ

กษมา

หมายถึง[กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคำขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).

คุมนุม

หมายถึง(โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).

เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง

หมายถึงก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ.

บราง

หมายถึง[บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.

ริบทรัพย์สิน

หมายถึง(กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่งที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่ริบตกเป็นของแผ่นดิน.

จำคุก

หมายถึง(กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจำ.

กระลัมพร

หมายถึงน. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทำกระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลำพร ก็มี.

คดีอาญา

หมายถึง(กฎ) น. คดีที่เกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา.

ตะพุ่นหญ้าช้าง

หมายถึง(โบ) น. โทษอาญาหลวงสมัยโบราณ; คนที่ถูกลงโทษให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง.

เอาปูนหมายหัว

หมายถึง(สำ) ก. ผูกอาฆาตไว้, คาดโทษไว้, เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้, ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้.

วัช,วัช,วัช-,วัชชะ,วัชชะ

หมายถึง[วัดชะ-] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).

อาชญา

หมายถึง[อาดยา, อาดชะยา] น. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชำระความแพ่ง; คำ อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คำ อาญา เป็นพื้น.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ