ตัวกรองผลการค้นหา
ฐานียะ
หมายถึง(แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
หิน
หมายถึง(ปาก) ว. ยากมาก เช่น ข้อสอบหิน, เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้หิน, เหี้ยมมาก, แข็งมาก, เช่น เขาเป็นคนใจหิน.
โหด
หมายถึงว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้โหด.
ไหว้ครู
หมายถึงก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน.
ผอบ
หมายถึง[ผะ-] น. ภาชนะสำหรับใส่ของ มีเชิง ฝาครอบมียอด มักทำด้วยโลหะหรือไม้กลึงเป็นต้น.
คอบ
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงำ, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
กะลา
หมายถึงน. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคำไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สำ) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
เขียนไทย
หมายถึงน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.
รับใช้
หมายถึงก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
วางมือ
หมายถึงก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทำอยู่ชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
เสมอต้นเสมอปลาย
หมายถึงว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย.
สำนึก
หมายถึงก. รู้สึกซาบซึ้ง เช่น สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์.