ตัวกรองผลการค้นหา
ขมวด
หมายถึง[ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวดอย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
ทรอมโบน
หมายถึง[ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและบังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trombone).
ตน
หมายถึงน. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
ทะลาย
หมายถึงน. ช่อผลของหมากมะพร้าวที่ออกเป็นกลุ่มรวมกัน เช่น ทะลายหมาก ทะลายมะพร้าว, อัน ก็เรียก, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หมากทะลายหนึ่ง มะพร้าว ๒ ทะลาย.
นัด
หมายถึงก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกำหนด. น. การกำหนดตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการกำหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
หมาก
หมายถึงน. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูกว่า หมาก เช่น หมากเก็บ หมากรุก; (โบ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูกว่า หมาก เช่น แสงสิบหมาก ว่า พลอยสิบเม็ด.
จบ
หมายถึงน. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
ที
หมายถึงน. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอกจำนวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
คำ
หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.
เที่ยว
หมายถึงน. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
แผ่น
หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะแบน ๆ อย่างกระดาษหรือกระดาน เช่น แผ่นกระดาษ แผ่นกระดาน, ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาน ๒ แผ่น.
จาน
หมายถึงน. ภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนามเรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน, เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย.