ตัวกรองผลการค้นหา
ระบาด
หมายถึงว. แพร่ไปอย่างรวดเร็ว, แพร่ไปอย่างกว้างขวาง, แพร่ไปทั่ว, เช่น ข่าวลือระบาด, ลักษณะของโรคติดต่อที่แพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเป็นคราว ๆ ไป, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า โรคระบาด เช่น อหิวาตกโรคเป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง.
ลิงล้างก้น
หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ทำอะไรลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ ไป แต่ไม่เรียบร้อย.
เสด็จพระราชดำเนิน
หมายถึงก. ไป (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางลาดพระบาท เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง.
หุ้ยหุย
หมายถึงว. เฉียด ๆ ไป.
อากาศ
หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
ใครไหวไปก่อนเลย
หมายถึงให้ความรู้สึกขั้นสุด เช่น อาจจะเหนื่อย เบื่อ กลัว หรือแม้กระทั่งความน่ารัก
ครวญคราง
หมายถึงก. ครางเรื่อย ๆ ไป.
คระไล
หมายถึง[คฺระ-] ก. ไป. (แผลงมาจาก ไคล).
คลายคล้าย,คล้ายคล้าย
หมายถึงก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลายจระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลำดับ).
ค่าง
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
จร,จร,จร-
หมายถึง[จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจำ เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี.
จารึก
หมายถึงก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.