ตัวกรองผลการค้นหา
สมบุกสมบัน
หมายถึงว. ทนลำบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบันจึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
หัวหาด
หมายถึงน. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้วจะทำให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึง จุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.
หลอกหลอน
หมายถึงก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอกหลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมาคอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
ใหม่
หมายถึงว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้ว กลับไปนอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
สังเวช,สังเวช-
หมายถึง[สังเวด, สังเวชะ-] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
ขึ้น
หมายถึงก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.