ตัวกรองผลการค้นหา
จรัส
หมายถึง[จะหฺรัด] (แบบ) ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง.
จัณฑวาตา
หมายถึง(แบบ) น. ลมร้าย เช่น จัณฑวาตารำพายพาน. (สมุทรโฆษ).
จิตต,จิตต-,จิตต์
หมายถึง[จิดตะ-] (แบบ) น. จิต. (ป.).
จิตตวิสุทธิ
หมายถึง(แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
จีวรกาลสมัย
หมายถึง(แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
จีวรภาชก
หมายถึง(แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
ฉพีสติม,ฉพีสติม-
หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).
ฉวะ
หมายถึง[ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
ฉักกะ
หมายถึง(แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.).
ฉินท,ฉินท-,ฉินท์
หมายถึง[ฉินทะ-] (แบบ) ก. ตัด, ขาด, ทำลาย. (ป., ส.).
ชค,ชค-
หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).
ชปโยค
หมายถึง[ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).