ตัวกรองผลการค้นหา
ซูโครส
หมายถึง[-โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐ °ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทำจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
ข้าวโพด
หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zea mays L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นสูงคล้ายอ้อยหรือข้าวฟ่าง เมล็ดเรียงชิดกันแน่นรอบซังเป็นฝักกลม ๆ ยาว ๆ มีกาบหุ้มหลายชั้น.
คาย
หมายถึงก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้หมายถึงอาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน ลูกประสักคายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
หมายถึงน. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทำให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัวทำให้รู้สึกระคายคัน.
รม
หมายถึงก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อยรมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้นเกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
มีดเหลียน
หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน ก็เรียก.
สำลี
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gossypium barbadense L. var. acuminatum (Roxb.) Mast. ในวงศ์ Malvaceae เมล็ดมีปุยขาวใช้ทอผ้าได้; ชื่อเรียกปุยของเมล็ดฝ้ายหรือเมล็ดสำลี. (๒) อ้อยสำลี. [ดู ตะเภา ๔ (๑)].
ชา
หมายถึงก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบเรือชา. (สมุทรโฆษ).
เหลียน
หมายถึง[เหฺลียน] น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, อีเหลียน ก็เรียก. (จ.).