ตัวกรองผลการค้นหา
ย้อนต้น
หมายถึงก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น.
ขยุกขยิก
หมายถึง[ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดงถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ
หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
ตะกุกตะกัก
หมายถึงว. ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก, ไม่ราบรื่น, (มักใช้แก่การอ่านหรือพูด).
ตุ่นต่าน
หมายถึงก. ข่มขี่ เช่น พรรณหญิงมิโอมอ่าน ตุ่นต่านให้ชายกลัว. (ม. คำหลวง กุมาร).
เสียงเลื้อน
หมายถึง(โบ) น. เสียงอ่านหรือสวดทำนองเสนาะ เช่น เสียงเลื้อนเสียงขับ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
นิคหิต
หมายถึง[นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
ไม้
หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายกำกับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ๋ เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
ท
หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
บอกบท
หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
ตะลุย
หมายถึงว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.
ทำนองเสนาะ
หมายถึงน. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.