ตัวกรองผลการค้นหา
อัง
หมายถึงก. นำไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออังหน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
งอก
หมายถึงก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
ก่าย
หมายถึงก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้างอยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย.
ขม่อม
หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
กระทิง
หมายถึงน. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา.
พินทุ
หมายถึงน. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ิ; ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).
กวัก
หมายถึง[กฺวัก] น. ชื่อนกชนิด Amaurornis phoenicurus ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น ขาและนิ้วยาว หน้าผากและลำตัวด้านล่างสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ในตอนเช้าหรือพลบคํ่า ร้องเสียงดัง “กวัก ๆ”.
ตีทอง
หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Megalaima haemacephala ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกแดง หน้าผากแดง ขอบตาเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ เช่น ลูกไทร มักเกาะบนต้นไม้สูง ร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.
ล้างบาป
หมายถึงน. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาปเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
ไต่ไม้
หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sittidae ตัวเล็ก หางสั้น ปากแหลม มักไต่จากยอดไม้ลงมาสู่โคนโดยเอาหัวลง กินหนอนและแมลงในเปลือกไม้ แต่บางครั้งก็กินเมล็ดพืช ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๕ ชนิด เช่น ไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (Sitta castanea) ไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (S. frontalis) ไต่ไม้สีสวย (S. formosa).
แขกเต้า
หมายถึงน. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดำลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเคราตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้.
รอย
หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.