ตัวกรองผลการค้นหา
เดคากรัม
หมายถึง[-กฺรำ] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ กรัม, อักษรย่อว่า ดคก. (อ. decagramme).
กะรัตหลวง
หมายถึงน. มาตรานํ้าหนักตามวิธีประเพณี ใช้สำหรับชั่งเพชรพลอยเท่านั้น เป็นเมตริกกะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม, อักษรย่อว่า กต.
เมตริกตัน
หมายถึงน. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. (อ. metric ton).
กิโลกรัม
หมายถึงน. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนัก เท่ากับ ๑,๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล หรือ โล. (ฝ. kilogramme).
เลียน
หมายถึงก. เอาอย่าง, ทำหรือพยายามทำให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็ก ร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์นํ้าหนัก.
พัดดึงส์
หมายถึงน. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).
กิโล,กิโล-
หมายถึงเป็นคำประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
พิศ
หมายถึง[พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).
ทศ,ทศ,ทศ-
หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
กรัม
หมายถึง[กฺรำ] น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตราประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก. (ฝ. gramme).
สลึง
หมายถึง[สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.
ตำลึง
หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).