ค้นเจอ 84 รายการ

ประสีประสา

หมายถึงน. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.

วากย,วากย-,วากยะ

หมายถึง[วากกะยะ] น. คำพูด, คำกล่าว, ถ้อยคำ, ประโยค. (ป., ส.).

อันวย,อันวย-,อันวัย

หมายถึง[อันวะยะ-] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).

เอกรรถประโยค

หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.

หยอก

หมายถึงก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า มาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.

อนุศาสก

หมายถึงน. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).

ประพจน์

หมายถึงน. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).

ตาย

หมายถึงว. คำประกอบท้ายประโยคหรือหน้าประโยค หมายความว่า แย่, เต็มที, ยิ่งนัก, เช่น ร้อนจะตาย ตายละทีนี้, คำเปล่งเสียงแสดงความตกใจหรือประหลาดใจเป็นต้น เช่น อุ๊ยตาย ตายแล้ว.

ยัก

หมายถึง(ปาก) ว. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.

ลงโบสถ์

หมายถึงก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

เปรียญ

หมายถึง[ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ