ตัวกรองผลการค้นหา
ประสาท
หมายถึง[ปฺระสาด] น. ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
ส่งความสุข
หมายถึงก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.
โกฐาส
หมายถึง[โกดถาด] (แบบ) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็นโกฐาสถ้อย. (ม. คำหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺาส).
ยาไฉน
หมายถึง[-ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).
ชโย
หมายถึง[ชะ-] น. ความชนะ. (คำเดียวกับ ชัย). อ. คำที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
กระยาหงัน
หมายถึงน. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
อดิเรก,อดิเรก-
หมายถึง[อะดิเหฺรก, -เหฺรกกะ-] ว. พิเศษ. น. ชื่อพรพิเศษที่พระสงฆ์ถวายพระมหากษัตริย์ ในคำว่า ถวายอดิเรก. (ป., ส.).
ไกพัล
หมายถึง[ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ส่งท้าย
หมายถึงก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัยนายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทำท้ายสุดเพื่ออำลา เช่น เขียนบทส่งท้ายต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.
เจ้าไทย
หมายถึง(โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
อาศิร-,อาศิร- ,อาศิร-,อาเศียร,อาเศียร-
หมายถึง[อาสิระ-, -เสียนระ-] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คำนี้เมื่อนำหน้าอักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
ขะข่ำ
หมายถึง(โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).