ตัวกรองผลการค้นหา
ไว้ทุกข์
หมายถึงก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยมว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ.
หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน
หมายถึง(สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
จำนำ
หมายถึงก. ประจำ, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจำนำ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้. (แผลงมาจาก จำ).
เด็ก
หมายถึงน. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส; บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่ ๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่าในคำว่า เด็กกว่า.
สูงศักดิ์
หมายถึงว. มียศศักดิ์หรือตระกูลสูง เช่น เจ้านายเป็นบุคคลที่สูงศักดิ์ เขาสืบเชื้อสายมาจากขุนนางผู้สูงศักดิ์.
สอบสวน
หมายถึง(กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ.
ดอก
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทำให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียกเต็มว่า ดอกไม้; ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น; (ปาก) ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง, เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย; ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่านหนึ่งดอก.
ค้ำเงิน
หมายถึง(กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียกบุคคลซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.
ผู้ประกอบการ
หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่.
สาทิสลักษณ์
หมายถึง(ราชา) น. ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง, ใช้ว่า พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์.
จำเลย
หมายถึงน. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย, ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
รู้จักที่ต่ำที่สูง
หมายถึงก. รู้จักเคารพบุคคลและสถานที่ตามควรแก่ฐานะ เช่น เด็กพวกนั้นไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไปนั่งในที่ที่จัดไว้สำหรับผู้ใหญ่.