ตัวกรองผลการค้นหา
แกงได
หมายถึงน. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทำไว้เป็นสำคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทำลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ต้อง
หมายถึงก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ; เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น ต้องกิน ต้องนอน ต้องทำ. น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำว่า ข้าวต้อง.
สายหยก
หมายถึงน. เชือกผูกรั้งตรวนเพื่อให้นักโทษเดินสะดวกขึ้น เช่น มือถือสายหยกยกสะเทิน พลั้งเท้าก้าวเกินก็ล้มลง. (ขุนช้างขุนแผน).
ชี้ตาไม่กระพริบ
หมายถึง(สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
เบามือ,เบาไม้เบามือ
หมายถึงก. ทำเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทำไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทำงานมาก. ว. ที่ออกแรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
สายสิญจน์
หมายถึงน. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.
คัน
หมายถึงน. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสำหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาวทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.
บริษัทมหาชนจำกัด
หมายถึง(กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
บรรณศาลา
หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).
ไม้เท้า
หมายถึงน. ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ สำหรับถือยันตัวหรือเดิน, ไม้สักกะเท้า ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวเมีย ดาวอุตตรภัทรบท หรือ ดาวอุตตรภัททะ ก็เรียก.
จำแทง
หมายถึง(โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรำท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
ตะบอง
หมายถึงน. ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม, ที่มีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก เรียกว่า ตะบองยาว ที่มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น, กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า.