ตัวกรองผลการค้นหา
ธาตุ
หมายถึง[ทาด] น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
ศุภร,ศุภร-
หมายถึง[สุบพฺระ-] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ไม่มีตำหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
ทิพยจักษุ
หมายถึง[ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
สุขา
หมายถึง[สุ-] (ปาก) น. ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก.
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย
หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
ชรอุ่ม
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชรอุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
ทะ
หมายถึงคำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น หรือเป็นคำซํ้าซึ่งคำหน้าเสียงกร่อนไป เช่น
ศาสนสมบัติของวัด
หมายถึงน. ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งรวมทั้งปูชนียสถานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด เช่น พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสมบัติของวัดพระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนมเป็นศาสนสมบัติของวัดธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพเป็นศาสนสมบัติของวัดพระธาตุดอยสุเทพ.
สุพรรณภาชน์
หมายถึง[สุพันนะพาด] (ราชา) น. ภาชนะสำหรับใส่พระกระยาหาร ทำด้วยทองคำทั้งชุด, ใช้ว่า พระสุพรรณภาชน์; โต๊ะเท้าช้าง.
ศุลกากร
หมายถึง[สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
ธริษตรี,ธเรษตรี
หมายถึง[ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทาธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
ข่า
หมายถึงน. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).