ตัวกรองผลการค้นหา
อาจ
หมายถึงว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคำช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีกสิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
ไห้
หมายถึง(วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่ารักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้อง เป็น ร้องไห้.
นิ่ง,นิ่ง ๆ
หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
หมาถูกน้ำร้อน
หมายถึง(สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
คำร้อง
หมายถึง(กฎ) น. (๑) คำขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คำขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คำร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).
โวยวาย
หมายถึงก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
หง่าว
หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียกว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
จอก
หมายถึงน. ชื่อไม้นํ้าชนิด Pistia stratiotes L. ในวงศ์ Araceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า ไม่มีลำต้น มีแต่รากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อน ๆ กันเป็นกลุ่ม ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร.
งิ้ว
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax ceiba L. ในวงศ์ Bombacaceae กิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว.
สักวา
หมายถึง[สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
เอ๋ย
หมายถึงว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คำที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคำกลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ยกาดำ รถเอ๋ยรถทรง.
ไล่เบี้ย
หมายถึงก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชำระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลำดับ, โดยปริยายหมายถึงการกระทำในลักษณะเช่นนั้น.