ตัวกรองผลการค้นหา
จตุรถ-
หมายถึง[จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
หมวด กามารมณ์
หมวด ความน่ารัก
ประติรพ
หมายถึง[ปฺระติรบ] ก. ส่งเสียงดัง, ร้องดัง, ประดิรพ ก็ว่า. (ส. ปฺรติรว; ป. ปฏิรว).
เตริง
หมายถึง[เตฺริง] (กลอน) ก. เจิ่ง, เหลิง, เช่น กระทิงเที่ยวเตริงพนาลี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
มัตสระ
หมายถึง[มัดสะระ] ว. ตระหนี่, เห็นแก่ตัว, ริษยา. (ส. มตฺสร; ป. มจฺฉร).
ศาสนธรรม
หมายถึงน. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
ขัค
หมายถึง(แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
ขุนหลวง
หมายถึง(โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
คห,คห-
หมายถึง[คะหะ-] (แบบ) น. เรือน, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).
บาทรช,บาทรัช
หมายถึง[บาดทะรด, บาดทะรัด] น. ละอองเท้า. (ส. ปาทรช).
ราชวโรงการ
หมายถึง[-วะโรงกาน] น. คำสั่งของพระราชา. (ป. ราช + วร + ข. โองฺการ).
ทรราช
หมายถึงน. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
ท
หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.