ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมราชา
หมายถึงน. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
ธรรมวัตร
หมายถึงน. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.
ธรรมสภา
หมายถึงน. ที่ประชุมฟังธรรม. (ส.; ป. ธมฺมสภา).
ธรรมสาร
หมายถึงน. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
ธรรมายตนะ
หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
ธรรมารมณ์
หมายถึง[ทำมา-] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).
ธรรมกาม
หมายถึงน. ผู้ใคร่ธรรม, ผู้นิยมในยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกาม).
ธรรมขันธ์
หมายถึงน. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กำหนดข้อธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
ธรรมจักร
หมายถึงน. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
ธรรมนาถ
หมายถึงน. ผู้รักษากฎหมาย. (ส.).
ธรรมนิตย์
หมายถึงน. ผู้เที่ยงธรรม. (ส.).
ธรรมนูญ
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.