ตัวกรองผลการค้นหา
สัตยาธิษฐาน
หมายถึงน. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺาน; ป. สจฺจ + อธิฏฺาน).
สันนิษฐาน
หมายถึง[-นิด-] ก. ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน. (ป. สนฺนิฏาน ว่า ลงความเห็นในที่สุด).
คุยหฐาน
หมายถึง(ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ฐาน; ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).
ฐานราก
หมายถึงน. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
ฐานานุศักดิ์
หมายถึงว. ตามควรแก่เกียรติศักดิ์. น. ศักดิ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งฐานานุกรมได้.
ฐานียะ
หมายถึง(แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
พยานหลักฐาน
หมายถึง(กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
วิทยฐานะ
หมายถึงน. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
สติปัฏฐาน
หมายถึงน. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).
อธิฏฐาน
หมายถึง[อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺาน).
อุปัฏฐานะ
หมายถึง[อุปัด-, อุบปัด-] น. การบำรุง, การรับใช้. (ป.).
สมมุติฐาน
หมายถึง[สมมดติ-, สมมุดติ-] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).