ค้นเจอ 79 รายการ

ศักราช

หมายถึง[สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

ผูกพัน

หมายถึง(การคลัง) ก่อหนี้สินผูกมัดรัฐบาลให้ต้องจ่ายในงบประมาณแผ่นดินต่อ ๆ ไป เช่น หนี้ผูกพัน งบประมาณผูกพัน รายจ่ายผูกพัน

ไคล

หมายถึง[ไคฺล] ก. ไป.

ทา

หมายถึงก. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมา ก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.

เที่ยว

หมายถึงน. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.

เนื้อความ

หมายถึงน. ข้อความทั่ว ๆ ไป.

ไป ๆ มา ๆ

หมายถึงว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอเงินพ่อใช้.

มนู

หมายถึงน. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

โยม

หมายถึงน. คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดยเจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณรในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

ลี

หมายถึงก. ไป.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ