ตัวกรองผลการค้นหา
ราค,ราค-,ราคะ
หมายถึงน. ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).
อนุสัย
หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
กามารมณ์
หมายถึงน. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. (ป. กาม + อารฺมณ).
วิราคะ
หมายถึงน. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
กามามิศ
หมายถึงน. อามิสคือกาม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
กามา
หมายถึง(กลอน) น. กาม เช่น เข้าแต่หอล่อกามา. (มูลบท).
ไฟกิเลส
หมายถึงน. กิเลสที่เปรียบเสมือนไฟเพราะทำให้จิตใจเร่าร้อน ได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ.
กระเวน
หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กทรรป
หมายถึง[กะทับ] (แบบ) ก. กำหนัด เช่น ตรูกามกทรรปหฤทัย. (สมุทรโฆษ). (ส. กนฺทรฺป ว่า กามเทพ).
ตระอร
หมายถึง[ตฺระออน] ก. ทำให้ชอบใจ; ประคับประคอง เช่น เกื้อกามตระอร. (กฤษณา).
ตัณหา
หมายถึง[ตันหา] น. ความทะยานอยาก, โดยทั่วไปใช้หมายถึงความใคร่ในกาม. (ป.; ส. ตฺฤษฺณา).
กระวน
หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).