ตัวกรองผลการค้นหา
นอนเวร
หมายถึงก. ผลัดเปลี่ยนกันมานอนรักษาการณ์นอกเวลาทำงาน.
ประชวร
หมายถึง[ปฺระชวน] (ราชา) ก. เจ็บป่วย. (ใช้แก่เจ้านาย). (ส. ปฺรชฺวร).
ผณินทร,ผณิศวร
หมายถึงน. พญางู คือ นาคราช. (ส. ผณินฺ + อินฺทฺร; ส. ผณินฺ + อีศฺวร).
พอสมควร
หมายถึงว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
ภูเตศวร
หมายถึงน. พระศิวะ. (ส.).
วิฆเนศ,วิฆเนศวร
หมายถึง[วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
หมดเวร
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
กิริเนศวร
หมายถึง[-เนสวน, -เนด] น. ช้างสำคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
เข้าเวร
หมายถึงก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
ควร
หมายถึง[ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.
ไตรจีวร
หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.
นรินทร์,นริศ,นริศร,นริศวร
หมายถึง[นะริน, นะริด, นะริดสวน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร, นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).