ตัวกรองผลการค้นหา
ปัณรสม,ปัณรสม-
หมายถึง[ปันนะระสะมะ-] ว. ที่ ๑๕. (ป.).
ลื้อ
หมายถึงน. ไทยพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา.
ปัณรสี
หมายถึง[ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).
ปปัญจ,ปปัญจ-,ปปัญจะ
หมายถึง[ปะปันจะ-] (แบบ) น. ความเนิ่นช้า, ความนาน. ว. เนิ่นช้า. (ป.).
ปัณรส,ปัณรส-
หมายถึง[ปันนะระสะ-] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
ตยาค
หมายถึง[ตะยาก] (แบบ) น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น. (ม. คำหลวง กุมาร). (ส.).
ปัณฑรหัตถี
หมายถึง[ปันดะระ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส. (ดู กาฬาวก).
หยิบไปแต่พอดี
หมายถึงเอาของบริจาคจากตู้ปันสุขไปในปริมาณที่เหมาะสม เผื่อไว้ให้คนอื่นที่ยังเดือดร้อนด้วย ไม่ใช่แย่งหยิบเอาไปกันจนหมด
ถ้ามีก็แบ่งปัน
หมายถึงเชิญชวนให้ช่วยกันบริจาคข้าวของใส่ตู้ปันสุข เพื่อร่วมแบ่งปันให้เพื่อนมนุษย์ที่ต้องการความช่วยเหลือในช่วงวิกฤติ COVID-19
แจก
หมายถึงก. แบ่งหรือปันให้แก่คนหลาย ๆ คน เช่น แจกเสื้อผ้า แจกสตางค์; กระจายออก, แยกออก, เช่น แจกออกเป็นแม่ ก กา.
ตจปัญจกกรรมฐาน
หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ตรึก
หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).