ตัวกรองผลการค้นหา
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
หมายถึงน. หนังสือสำหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์เรียงลำดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
อักษรกลาง
หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
อักษรบฏ
หมายถึง[อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).
อักษรสาส์น
หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.
อึกอัก
หมายถึงว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่าเป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียงทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
กระอึกกระอัก
หมายถึงว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่าเป็นต้น, อึกอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า.
กลอักษร
หมายถึง[กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
ผันอักษร
หมายถึงก. เปลี่ยนเสียงพยัญชนะให้สูงตํ่าไปตามวรรณยุกต์.
อัก
หมายถึงน. เครื่องสำหรับคัดด้ายหรือไหม มีรูปคล้ายระวิง สำหรับพันด้ายหรือไหมเป็นตอน ๆ ตามลำดับเส้นใหญ่และเล็ก.
อักกะ
หมายถึงน. พระอาทิตย์; ต้นรัก. (ป.; ส. อรฺก).
อักขร,อักขร-,อักขระ
หมายถึง[อักขะหฺระ-] น. ตัวหนังสือ. (ป.; ส. อกฺษร).
อักโขภิณี,อักโขเภณี
หมายถึงน. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; ใช้ว่า อักเษาหิณี ก็มี. (ป.; ส. อกฺเษาหิณี).