ตัวกรองผลการค้นหา
สถาปัตยเวท
หมายถึง[สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของอุปเวท. (ส. สฺถาปตฺย + เวท). (ดู อุปเวท ประกอบ).
ปริบท
หมายถึง[ปะริ-] น. บริบท.
ทมะ
หมายถึง[ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).
อัตตโนบท
หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
ฉินท,ฉินท-,ฉินท์
หมายถึง[ฉินทะ-] (แบบ) ก. ตัด, ขาด, ทำลาย. (ป., ส.).
มนท,มนท-,มนท์
หมายถึง[มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย,ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.).
ประวัติการ
หมายถึง[ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมาแล้วแต่ก่อนตามลำดับสมัย.
ประวัติการณ์
หมายถึง[ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เหตุการณ์ที่มีค่าควรบันทึกหรือจดจำไว้.
หิรัณยการ
หมายถึง[หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).
กาล
หมายถึง[กาน] (โบ) น. คำประพันธ์.
ทวาทศม,ทวาทศม-
หมายถึง[ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).
ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์
หมายถึง[ฉันทะ-] น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).