ตัวกรองผลการค้นหา
กำแพงเขย่ง
หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.
กำพร้า
หมายถึง[-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
กมัณฑลุ
หมายถึง[กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
รำ
หมายถึงก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
อินทรวิเชียร
หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
คลี
หมายถึง[คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).