ตัวกรองผลการค้นหา
ควีนสิริกิติ์
หมายถึง[คฺวีนสิหฺริกิด] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Cattleya ‘Queen Sirikit’ ในวงศ์ Orchidaceae เป็นพันธุ์ผสม ดอกใหญ่ สีขาว ปากเหลือง สวยงามมากและมีกลิ่นหอม.
รัตนชาติ
หมายถึงน. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงาม คงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
เครื่องสำอาง
หมายถึงน. สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่องพระสำอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
แมว
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่มมีหลายสี เช่น ดำ ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
หนักหัวกบาล
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัว ก็ว่า.
รู้ชั้นเชิง,รู้ชั้นรู้เชิง
หมายถึงก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
หนักกะลาหัว
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
พิสมัย
หมายถึง[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
ส
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
กอและ
หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.
เสียสายตา
หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.
หาเหตุ
หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.