ตัวกรองผลการค้นหา
คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
มีชื่อ,มีชื่อเสียง
หมายถึงว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.
เสียงอ่อนเสียงหวาน
หมายถึงน. น้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง, น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เบา ช้าลง และไพเราะน่าฟัง เพื่อประจบเป็นต้น.
ซะซิบ
หมายถึง(กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
เย็นหู
หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
จอน,จอน,จอนหู
หมายถึงน. ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม.
ยอน
หมายถึงก. แยง เช่น เอาขนไก่ยอนหู.
ส่าย
หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากผ้าแพรเนื้อหนาแข็งเสียดสีกัน เช่น ได้ยินเสียงแพรส่าย.
วิรวะ,วิราวะ
หมายถึง[วิระ-] น. การร้อง, การเปล่งเสียง, การตะโกน; เสียงเกรียวกราว, เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
ยิน
หมายถึงก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
คุ้น
หมายถึงก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตาบ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
พำพึม,พำ ๆ,พึม ๆ
หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพำ ก็ว่า.