ค้นเจอ 272 รายการ

หนาตา

หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

โรงมหรสพ

หมายถึงน. สถานที่สำหรับเล่นมหรสพ เช่น งิ้ว ลิเก ละคร ภาพยนตร์ เพื่อเก็บเงินจากคนดู ไม่ว่าจะปลูกเป็นตึก เรือน โรง หรือกระโจมและที่ปลูกกำบังอย่างใด ๆ.

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

เจษฎา

หมายถึง[เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารำ; กรรม, การทำด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทำ, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอนาง เสมอมาร.

เนื้อหา

หมายถึงน. ใจความสำคัญ, ข้อสำคัญ, สาระสำคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).

กบเต้น

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).

ติดตลก

หมายถึงก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคนร้องพัก, มักพูดใช้สำนวนโวหารหรือแสดงท่าทางชวนให้คนหัวเราะขบขัน.

สะท้อน

หมายถึงก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยายหมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.

ฝัด

หมายถึงก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่นกระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออกจากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

บานพับ

หมายถึงน. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ