ตัวกรองผลการค้นหา
พยติเรก
หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
วิสย,วิสย-,วิสัย
หมายถึง[วิสะยะ-, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
กริตย,กริตย-
หมายถึง[กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทำ เช่น พระบาทสญไชยก็ชำระกริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คำหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
เย็นเยือก
หมายถึงว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอยน้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
กาย,กาย-
หมายถึง[กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
บัพพาชนียกรรม
หมายถึง[บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
มนุษยศาสตร์
หมายถึง[มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและงานของคน มีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย + ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
สิธยะ
หมายถึง[สิดทะยะ] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
นวังคสัตถุศาสน์
หมายถึง[นะวังคะสัดถุสาด] น. คำสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
ชวา
หมายถึง[ชะ-] น. ชื่อเกาะสำคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชนที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
สัญนิยม
หมายถึง[สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มสังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
สัญประกาศ
หมายถึง[สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.