ค้นเจอ 219 รายการ

พะ

หมายถึงน. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.

ลบหลู่

หมายถึงก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มีอุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.

ครัว

หมายถึง[คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดกมากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.

สมจร

หมายถึงก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท... ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้าข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล... (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาคสมจรกับงูดิน.

ฉ่า

หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

อุปปาติกะ

หมายถึง[อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).

ลูกแหง่

หมายถึงน. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.

ลูกคู่

หมายถึงน. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่.

ลูกแก้ว

หมายถึงน.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะเป็นต้น, ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลมทำด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา; ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

แหง่

หมายถึง[แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.

ลูก

หมายถึงน. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา; เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ