ตัวกรองผลการค้นหา
วิจิตรพิศวง
หมายถึง[-จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลายชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
กบนา
หมายถึงน. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลายสีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
กลไฟ
หมายถึง[กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
เสื่อลวด
หมายถึงน. เครื่องปูลาดสำหรับรองนั่ง ทำด้วยต้นกก ทอเป็นผืนหน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จำกัด นิยมใช้ตามวัด.
กระแอม
หมายถึงก. ทำเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.
ฉ่อย
หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
เรือเพรียว
หมายถึงน. เรือขุดรูปคล้ายเรือแข่ง แต่ขนาดเล็กกว่า หัวยาวพองาม ท้ายสั้น เป็นเรือที่ขุนนางหรือผู้มีฐานะการเงินดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.
ข้าวกระยาทิพย์
หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
นาก
หมายถึงน. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.
กระชาก
หมายถึงก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
หัวใจ
หมายถึงน. อวัยวะภายในสำหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสำคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.
ศักราช
หมายถึง[สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.