ตัวกรองผลการค้นหา
กรลุมพาง
หมายถึง[กระ-] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
ผิดสี
หมายถึง(ปาก) ว. ต่างสีกัน, เดิมใช้แก่คนที่แต่งเครื่องแบบต่างสีกัน เมื่อพบเห็นมักทำให้รู้สึกว่าเป็นคนละพวก.
กระกร
หมายถึง(กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
กล่อม
หมายถึง[กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
พาณิชยศิลป์
หมายถึงน. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพโฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
อ่านเล่น
หมายถึงก. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น เอาหนังสือไปอ่านเล่นสัก ๒ เล่มซิ. ว. ที่แต่งขึ้นให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ในคำว่าหนังสืออ่านเล่น.
ชะมดเชียง
หมายถึงน. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ).
โรยหน้า
หมายถึงก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่งแต่เพียงผิว ๆ.
สุภาพชน
หมายถึงน. ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย, ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน พูดจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ, เช่น สุภาพชนย่อมไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด.
อนุประโยค
หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
กระแสะ
หมายถึงว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.
ตองตอย
หมายถึงว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ, ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).