ตัวกรองผลการค้นหา
ตาริ้ว
หมายถึงน. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่เป็นต้น.
เตริง
หมายถึง[เตฺริง] (กลอน) ก. เจิ่ง, เหลิง, เช่น กระทิงเที่ยวเตริงพนาลี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
ทัสนานุตริยะ
หมายถึง[ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอันประเสริฐ เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).
เทพบริษัท
หมายถึง[เทบบอริสัด] น. พวกเทวดา. (ส.).
เทริด
หมายถึง[เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า.
น้ำพริก
หมายถึงน. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน น้ำพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้างหวานทำด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
น้ำพริกเผา
หมายถึงน. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตำให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
บริกรรม
หมายถึง[บอริกำ] ก. สำรวมใจสวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
บริขาร
หมายถึง[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
บริขารโจล
หมายถึง[-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬ ก็มี. (ป.).
บริคณห์สนธิ
หมายถึง(กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจำกัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจำนวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจำกัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.