ตัวกรองผลการค้นหา
เงินแดง
หมายถึง(โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมาหมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึงคนที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
แซะ
หมายถึงก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทำงานอยู่เรื่อย.
ยืดหยุ่น
หมายถึง(วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้นหยุดกระทำ; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
ลูกประหล่ำ
หมายถึงน. เครื่องประดับข้อมือ มักทำเป็นลูกกลม ๆ หรือเป็นกลีบอย่างลูกมะยม หรือเป็นเหลี่ยมเป็นต้น สลักเป็นลวดลาย เดิมมีสีแดง ๆ, ปะวะหลํ่า ก็ว่า.
อุทยานแห่งชาติ
หมายถึง(กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวนรักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ.
เซลล์ปฐมภูมิ
หมายถึงน. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).
ถึก
หมายถึงว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ไทยเดิมใช้หมายความว่า ตัวผู้, ถ้าตัวเมียใช้ แม่ เช่น ม้าแม่ หมาแม่).
รัตนาภรณ์
หมายถึงน. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
หัวหงอก
หมายถึง[-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยายหมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.
กลิงค์
หมายถึง[กะลิง] น. เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดำว่า แขกกลิงค์, กลึงค์ หรือ กะเล็ง ก็ว่า. (คำนี้เดิมหมายถึงชาวอินเดียที่มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์).
ละครชาตรี
หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
ศาลยุติธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.