ค้นเจอ 357 รายการ

ชวน,ชวน-,ชวน-

หมายถึง[ชะวะนะ-] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).

ดลใจ

หมายถึงก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทำ เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.

ปัญญา

หมายถึงน. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

วิตกจริต

หมายถึง[วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้ายทางเสีย. (ป.).

ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์,ฉันทะ

หมายถึงน. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).

เบาความ

หมายถึงว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.

ยืนกระต่ายสามขา

หมายถึง(สำ) ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.

แยแส

หมายถึงก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.

หักใจ

หมายถึงก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือสูญเสียเป็นต้น.

เห็น

หมายถึงก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.

นวย

หมายถึงก. เยื้องกราย, กรีดกราย; น้อม เช่น คิดคิ้วคำนวณนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).

ล้ำยุค,ล้ำสมัย

หมายถึงว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียนมีความคิดล้ำยุค.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ