ตัวกรองผลการค้นหา
สร่ง
หมายถึง[สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอดให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม.
รัดประคน
หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัวถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กูบมิให้โยกเลื่อน.
ลูกเบี้ยว
หมายถึงน. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ ทำหน้าที่ดันทองขาวในจานจ่ายให้แยกจากกัน เพื่อตัดวงจรไฟตํ่าให้ไปเกิดไฟแรงสูงที่คอยล์; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ทำหน้าที่ควบคุมการปิดเปิดของลิ้นเครื่องยนต์ เพื่อรับไอดีเข้าไปเผาไหม้และถ่ายไอเสียออกตามจังหวะที่ถูกต้อง.
บรรทัดรองมือ
หมายถึงน. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียนภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลายข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
รัด
หมายถึงก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทำให้ฝีรัด.
ตรีบูร
หมายถึงน. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กำสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
เสียบยอด
หมายถึงน. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยตัดกิ่งต้นที่จะขยายซึ่งมีตาติดอยู่ ปาดปลายให้เป็นรูปลิ่มแล้วนำไปเสียบที่กิ่งของอีกต้นหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยผ่าบากกิ่งไว้ให้เสียบได้ พันด้วยแถบพลาสติกให้แน่น. ก. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.
อุสุม
หมายถึงน. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กำลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มีลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่เสียง ศ ษ ส. (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
ต๋ง
หมายถึงก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อนหลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.
ทาบกิ่ง
หมายถึงน. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยใช้ต้นตอที่เพาะไว้ตัดให้สูงจากโคนต้นเล็กน้อยในลักษณะแฉลบ แล้วนำไปทาบที่กิ่งของอีกต้นหนึ่งซึ่งปาดให้แฉลบเช่นเดียวกับต้นตอที่จะทาบ ใช้แถบพลาสติกพันบริเวณที่ทาบให้แน่น. ก. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.
ปี่ไฉน
หมายถึง[-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.
แข็ง
หมายถึงว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทำงานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.