ค้นเจอ 207 รายการ

มีดเหน็บ

หมายถึงน. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, มีดอีเหน็บ ก็เรียก.

กลอน

หมายถึง[กฺลอน] น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.

เหน็บ

หมายถึงน. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยมเหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.

อีลุ้ม

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับนกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดำ หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัยหากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.

เชิด

หมายถึงก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยายหมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคำว่า ถูกเชิด. ว. ที่ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาไปมาอย่างรวดเร็วหรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขนท่าหนึ่ง.

ฝา

หมายถึงน. เครื่องปิดภาชนะต่าง ๆ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝาหม้อ ฝาโอ่ง ฝาท่อ; ฝ้าหรือเยื่อที่จับอยู่ข้างบนของเหลวเช่นนํ้านมเป็นต้น; เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือนโรงเป็นต้น เช่น ฝาบ้าน ฝาเรือน ฝาห้อง; ส่วนที่ปิดปากหอยหรือหุ้มตัวหอยซึ่งเปิดได้, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ขนมถ้วยฝาหนึ่ง ขนมถ้วย ๒ ฝา.

กมัณฑลุ

หมายถึง[กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).

แววตา

หมายถึงน. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่ารักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชัง ใบหน้าและแววตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรักประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).

กระทรวง

หมายถึง[-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).

ปี่

หมายถึงน. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวงตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.

สัมผัส

หมายถึงก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คำในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไปข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคำ เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ