ตัวกรองผลการค้นหา
ประจบ
หมายถึงก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจำนวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สายมาประจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมประจบกัน.
สนิทใจ
หมายถึงว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
วัตร,วัตร-
หมายถึง[วัด, วัดตฺระ-] น. กิจพึงกระทำ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
ประชด
หมายถึงก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
ธุร,ธุร-,ธุระ
หมายถึง[ทุระ-] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
ว้า
หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.
นิวรณ์
หมายถึงน. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจรักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
วับ ๆ แวม ๆ
หมายถึงว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แสงหิ่งห้อยดูวับ ๆ แวม ๆ, วับแวม ก็ว่า; อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น ไม่ควรแต่งตัววับ ๆแวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ.
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
หมายถึง(สำ) ก. ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.
สรรเสริญ
หมายถึง[สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคำยกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคำชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
ที่ไหนได้
หมายถึง(ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
แล้
หมายถึงว. สุดกำลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กำลังหามหรือคอนเป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคำ เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.