ตัวกรองผลการค้นหา
ล้วง
หมายถึงก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิดที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
หาเหตุ
หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.
บรรณศาลา
หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).
สุขศาลา
หมายถึง[สุกสาลา] น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, ปัจจุบันเรียกว่า สถานีอนามัย.
กะลาสี
หมายถึงน. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
กระอุ
หมายถึง(กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุอุระประปราณ. (สมุทรโฆษ; สรรพสิทธิ์), หนึ่งรัศมีพระสุริยเย็น รัศมีพระจันทร์เป็น กระอุแลกลับร้อนรน. (อภิไธยโพธิบาทว์), ใช้เป็น กระอุก หรือ ประอุก ก็มี.
มะพร้าวทุย
หมายถึงน. ผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบา เพราะไม่มีเนื้อและนํ้า นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น.
ขออนุญาต
หมายถึงขอให้ยินยอมหรือตกลงให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เข้ารหัส
หมายถึงก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น.
เสียแรง
หมายถึงก. เสียเรี่ยวแรง เช่น งานนี้ทำไปก็เสียแรงเปล่า ๆ ได้ผลประโยชน์ไม่คุ้ม. ว. ที่น้อยใจหรือผิดหวังที่ลงแรงไปแล้วแต่ไม่ได้ผลสมประสงค์ เช่น เสียแรงไว้วางใจให้รู้ความลับของบริษัท กลับเอาไปเปิดเผยให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ได้.
จันทรกลา
หมายถึง[-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลมหมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
อั้งยี่
หมายถึงน. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).