ตัวกรองผลการค้นหา
ปักษกษัย
หมายถึง[ปักสะกะไส] น. การสิ้นปักษ์.
ปูชกะ
หมายถึง[-ชะกะ] น. ผู้บูชา. (ป., ส.).
ปัจเจก,ปัจเจก-
หมายถึง[ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).
กฏุก-
หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
อามิษ,อามิส,อามิส-
หมายถึง[อามิด, อามิดสะ-] น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).
อายุกตกะ,อายุตกะ
หมายถึง[-ยุกตะกะ, -ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
ปิตุจฉา
หมายถึง[-ตุด-] น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
วัตถาภรณ์,วัตถาลังการ
หมายถึงน. เครื่องประดับคือผ้า. (ป. วตฺถ + อาภรณ, วตฺถ + อลงฺการ).
โกมล
หมายถึงว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
เอกภาคี
หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.
กษัตรา
หมายถึง[กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือ พรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).
ปัญจก,ปัญจกะ
หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).