ค้นเจอ 228 รายการ

อารัญญิก,อารัณยกะ,อารัณยกะ

หมายถึง[-รันยิก, -รันยะกะ] ว. เกี่ยวกับป่า, เกิดในป่า, มีในป่า. (ป. อารญฺก; ส. อารณฺยก).

นิยยานิก,นิยยานิก-

หมายถึง[นิยะยานิกะ-] (แบบ) ว. ที่นำออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นำสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).

ยอง

หมายถึงน. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.

ตติย,ตติย-

หมายถึง[ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คำรบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคำอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).

ปราชาปัตยวิวาหะ

หมายถึง[ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าวโดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).

ปัพพาชนียกรรม

หมายถึง[-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออกจากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

วัย,วัย-

หมายถึง[ไว, ไวยะ-] น. เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).

สถิตยศาสตร์

หมายถึง[สะถิดตะยะ-] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทำต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).

มนุษย,มนุษย-,มนุษย์

หมายถึง[มะนุดสะยะ-, มะนุด] น. สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).

อัพภาส

หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

กายสุจริต

หมายถึง[กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ