ตัวกรองผลการค้นหา
ศรุตะ
หมายถึง[สะรุตะ] ก. ได้ยิน, ได้ฟัง; มีชื่อเสียง, มีผู้รู้จัก. (ส.).
ศิตะ
หมายถึงว. คม. (ส.).
สังขต,สังขต-,สังขตะ
หมายถึง[-ขะตะ-] ว. ที่ปรุงแต่งขึ้น (ใช้ในทางศาสนา). (ป.).
สัต,สัต,สัต-,สัต-,สัตตะ,สัตตะ
หมายถึง[สัด, สัดตะ-] ว. เจ็ด. (ป. สตฺต; ส. สปฺต).
หตะ
หมายถึง[หะ-] ก. ตี, ฆ่า, ทำลาย. (ป., ส.).
หัวตะโหงก
หมายถึง[-โหฺงก] น. สิ่งที่นูนโหนกขึ้นมาจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้.
อสิตะ
หมายถึง[อะสิตะ] ว. มีสีดำ, มีสีคลํ้า, มีสีแก่. (ป., ส.).
อาหตะ
หมายถึงว. ถูกตี, โดนตี. (ป., ส.).
เกณฑ์ตะพัด
หมายถึงน. เครื่องผูกสำหรับหัดช้างให้เดินฝีเท้าเรียบ. (สิบสองเดือน).
ข้างตะเภา
หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลาขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัวโตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
ขาตะไกร
หมายถึงน. ขากรรไกร.
เขี้ยวตะขาบ
หมายถึงน. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.